top of page
คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา กิจกรรมแนะแนว รหัสวิชา ก23901    กลุ่มงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3     เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์     จำนวน 0.5 หน่วยกิต ภาคเรียนที่ 1

         กิจกรรมแนะแนวในชั่วโมงแนะแนว (1 ชั่วโมง/สัปดาห์) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้จักสิ่งแวดล้อม สามารถตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน นำข้อมูลทั้งมวลที่ได้ไปบูรณาการกับให้บริการแนะแนว การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน

         กิจกรรมแนะแนวจะช่วยให้ผู้เรียนได้สำรวจตนเอง ศึกษาวิเคราะห์ ตนเองและผู้อื่น นากจากนั้นยังต้องศึกษาสภาพปัญหาชีวิต ปัญหาแวดล้อม เหตุการณ์ปัจจุบัน สร้างความคิดรวบยอด เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้

  1. การเข้าใจตนเอง เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

  2. การปรับตัวและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

  3. การตัดสินใจและการแก้ปัญหา

  4. การแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ

กิจกรรมแนะแนวจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ กระบวนการพัฒนาค่านิยม กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการวิทยาศาสตร์ ฯลฯ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลตามมาตรฐานการแนะแนวและมาตรฐานการศึกษา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้

 

         การวัดและการประเมินผลผู้เรียน

วัดและประเมินผลโดยประยุกต์ใช้การวัดผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนการสอน ผู้จัดกิจกรรมจะใช้เทคนิคการประเมินหลากหลาย เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน แฟ้มสะสมผลงาน การใช้แบบทดสอบ ฯลฯ โดยผู้จัดจะประเมินเองหรือเปิดโอกาสผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผุ้ปกครองร่วมประเมินก็ได้

การประเมินกิจกรรมแนะแนว จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็น ผ่านและไม่ผ่าน เช่นมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80/ภาคเรียน และผ่านจุดประสงค์สำคัญในหัวข้อเนื้อหาที่โรงเรียนกำหนด หรืออยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าสถานศึกษา กำหนดผลการประเมิน เป็น ผ่าน (ผ) หรือ ไม่ผ่าน (มผ)

ในกรณีที่ไม่ผ่านการประเมิน ให้มี การแก้ซ่อมเสริมได้ตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา กิจกรรมแนะแนว รหัสวิชา ก32901    กลุ่มงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5     เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์     จำนวน 0.5 หน่วยกิต ภาคเรียนที่ 1

         กิจกรรมแนะแนวในชั่วโมงแนะแนว (1 ชั่วโมง/สัปดาห์) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้จักสิ่งแวดล้อม สามารถตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน นำข้อมูลทั้งมวลที่ได้ไปบูรณาการกับให้บริการแนะแนว การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน

         กิจกรรมแนะแนวจะช่วยให้ผู้เรียนได้สำรวจตนเอง ศึกษาวิเคราะห์ ตนเองและผู้อื่น นากจากนั้นยังต้องศึกษาสภาพปัญหาชีวิต ปัญหาแวดล้อม เหตุการณ์ปัจจุบัน สร้างความคิดรวบยอด เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้

  1. การเข้าใจตนเอง เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

  2. การปรับตัวและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

  3. การตัดสินใจและการแก้ปัญหา

  4. การแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ

กิจกรรมแนะแนวจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ กระบวนการพัฒนาค่านิยม กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการวิทยาศาสตร์ ฯลฯ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลตามมาตรฐานการแนะแนวและมาตรฐานการศึกษา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้

 

         การวัดและการประเมินผลผู้เรียน

วัดและประเมินผลโดยประยุกต์ใช้การวัดผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนการสอน ผู้จัดกิจกรรมจะใช้เทคนิคการประเมินหลากหลาย เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน แฟ้มสะสมผลงาน การใช้แบบทดสอบ ฯลฯ โดยผู้จัดจะประเมินเองหรือเปิดโอกาสผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผุ้ปกครองร่วมประเมินก็ได้

การประเมินกิจกรรมแนะแนว จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็น ผ่านและไม่ผ่าน เช่นมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80/ภาคเรียน และผ่านจุดประสงค์สำคัญในหัวข้อเนื้อหาที่โรงเรียนกำหนด หรืออยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าสถานศึกษา กำหนดผลการประเมิน เป็น ผ่าน (ผ) หรือ ไม่ผ่าน (มผ)

ในกรณีที่ไม่ผ่านการประเมิน ให้มี การแก้ซ่อมเสริมได้ตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ

bottom of page